วนใหญ่แล้วเรามักจัดการกับเงินออมให้งอกเงย โดยการนำไปฝากธนาคาร แต่ในโลกการเงินยังมีวิธีการลงทุนอีกมากมาย เช่น การลงทุนในตลาดหุ้น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมประเภทต่างๆ ตราสารหนี้ ประกันชีวิต อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งเพชรพลอย และทอง เป็นต้น ซึ่งสำหรับนักลงทุนมือใหม่แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุน
สินทรัพย์แต่ละประเภทให้ผลตอบแทนและความเสี่ยง แตกต่างกันไป การศึกษาข้อมูลและมีความรู้ในสินทรัพย์ที่จะลงทุนมีความสำคัญมาก ผู้ที่ลงทุนโดยไม่มีความรู้เรื่องความเสี่ยงและทางเลือกในการลงทุนอย่างเพียงพอ ถือเป็นผู้ลงทุนที่มี ความเสี่ยงสูงสุด
2. ผลตอบแทนกับความเสี่ยง การลงทุนมีความเสี่ยงยิ่งต้องการผลตอบแทนสูง ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนที่อาจทำให้ไม่ได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวังหรือเงินต้นที่ลงทุนลดลง สูงตามไปด้วย
3. เป้าหมายที่คาดหวัง ผู้ลงทุนควรกำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจน เช่น ลงทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาของลูกจำนวน 1,000,000 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือลงทุนไว้ใช้ยามเกษียณ เป็นต้น
4. วางแผนล่วงหน้า เมื่อมีเป้าหมายแล้ว ก็ต้องดูว่าจะเดินไปถึงเป้าหมายนั้นอย่างไร จุดเริ่มต้นคือ การกำหนดจำนวนเงินลงทุนเบื้องต้นให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากสถานะทางการเงินของตนเองเป็นหลัก หากนำเงินออมหรือเงินสำหรับการใช้จ่ายมาลงทุนมากเกินไป อาจทำให้ขาดสภาพคล่อง หากน้อยเกินไปอาจไม่บรรลุเป้าหมายการลงทุน
5. เงินลงทุนที่เหมาะสม เงินสำหรับการลงทุนควรเป็นเงินส่วนที่เกินจากเงินออมและเงินสำรอง เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงที่เราอาจจะสูญเสียเงินลงทุนไป ข้อควรคำนึงในการจัดสรรเงินเพื่อการลงทุน คือ ควรมีเงินออมและเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายประมาณ 3 - 6 เดือน
6. ผลตอบแทนที่ต้องการ เมื่อมีเป้าหมายการออมและกำหนดวงเงินไว้แล้ว ก็สามารถกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุนได้ ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่ต้องการนี้ จะทำให้เราเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุนได้อย่างเหมาะสม ทั้งประเภทของสินทรัพย์ที่จะลงทุน ระยะเวลาการลงทุน และระดับความเสี่ยงของการลงทุนที่เรายอมรับได้
***สิ่งที่ควรคำนึงก่อนการลงทุน***
1. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรมีความรู้และศึกษาข้อมูล ที่สำคัญก่อนการลงทุน ทั้งความรู้เกี่ยวกับสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่จะลงทุน ความเสี่ยง สภาวะเศรษฐกิจ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
2. กระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ซึ่งผู้ลงทุนเองควรจัดองค์ประกอบของหลักทรัพย์ที่ลงทุนหรือพอร์ตให้เหมาะสมกับตัวเอง ทั้งฐานะการเงิน รูปแบบการใช้ชีวิต เป้าหมายการลงทุน และแผนการในอนาคต
3. ลงทุนอย่างสมดุลและมีสติ ไม่ลงทุนเกินตัว ไม่โลภและไม่ประมาทเกินไป ความโลภต้องการแต่ผลตอบแทนที่มากเกินไป นำไปสู่ความประมาทและขาดความรอบคอบในการลงทุน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น