11.10.53

ประวัติซาลาเปาทับหลี

ประวัติซาลาเปาทับหลี





ในปี 2495 ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในตลาดท่าข้าม ร้านค้าของนายยกกว้างถูกไฟไหม้หมดเนื้อหมดตัว จึงเดินทางกลับบ้านมาอาศัยอยู่กับครอบครัวดั้งเดิมและเริ่มทำซาลาเปาขายช่วยเหลือครอบครัว ได้ถ่ายทอดวิธีทำซาลาเปา ให้นายไฮ้กว้าง และ นาย ฮ่อกว้าง ฮั่นบุญศรี น้องชาย ได้ดำเนินกิจการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคุณนิตยา ฮั่นบุญศรี ลูกสาวของนายฮ่อกว้าง ฮั่นบุญศรี เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อ นับว่าเป็นภูมิปัญญาของบ้านทับหลี ที่ได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นระยะเวลากว่า 50 ปี และได้ถ่ายทอดไปยังคนในหมู่บ้าน ทำให้ปัจจุบันสองข้างทางถนนในหมู่บ้านจะมีร้านจำหน่ายซาลาเปาทับหลี สองข้างถนน กว่า 1 กม. จำนวน 48 ร้าน ซึ่งแต่ละร้านมีคุณภาพ รสชาติใกล้เคียงกัน
บ้านทับหลี แต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเป็นเส้นทางผ่านระหว่างบ้านปลายคลองวันกับบ้านสองพี่น้อง ลักษณะเป็นที่ลาดเชิงเขา โดยคำว่า" ทับหลี" น่าจะมีที่มาจากการที่รัชกาลที่ 6 เสด็จโดยขบวนช้างจาก จ.ชุมพร มาประทับร้อนที่พลับพลาบกอินทนิน และประทับแรมที่พลับพลาทับหลีสุริยวงศ์
ซึ่งคำว่า "ทับ" น่าจะมาจากคำว่า "ที่ประทับ" ตรงกับภาษาถิ่นใต้ที่ค้นหาของป่าทำเป็นที่พักชั่วคราวในป่า เพื่อรวบรวมของป่าที่หาได้หุงหาอาหารและพักแรมคืนเรียกว่า "สร้างทับ" ส่วนคำว่า "หลี" น่าจะมาจากชื่อของ คุณหลี สุริยวงศ์ ที่เป็นผู้สร้างพลับพลาที่ประทับแรมในครั้งนั้น โดยสะสมทรัพย์ให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาบาล ผู้สำเร็จราชการ จังหวัดภูเก็ต สร้าง เพื่อรับเสด็จ รัชกาลที่ 6
ซึ่งในหมู่บ้านมีการทำ ซาลาเปาทับหลี เป็นสินค้าโอทอปของหมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับชายแดนพม่า โดยมี แม่น้ำกระบุรี เป็นเส้นแบ่งดินแดน และมีส่วนมี่แคบที่สุดของแหลมมลายู ซึ่งเรียกกันว่า คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ
โดยในทุก ๆ ปี จะมีงานเสด็จพระแข่งเรือ และมีการ ร้องเพลงเรือ ซึ่งถือเป็นงานประจำปีของชาวบ้านในชุมชนทับหลี





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

submit feed

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Powerade Coupons